.
3 ฮอร์โมนเช็ครังไข่เสื่อม
อยากมีน้องต้องตรวจ
ปรึกษาปัญหามีบุตรยาก ที่ Line Official คลิกลิ้งค์นี้เลย
https://lin.ee/fBa4xkz
#ภาวะรังไข่เสื่อม คือ ภาวะที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย จึงทำให้คุณผู้หญิงเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก สาเหตุของภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้น โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคทางพันธุกรรม การรับคีโมหรือฉายรังสีเพื่อรักษาโรค และยังพบว่ามีคนไข้จำนวนมากที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเช่นกัน
#อาการแสดงถึงรังไข่เริ่มจะเสื่อม
ประจำเดือนเริ่มไม่สม่ำเสมอจากการลดลงของจำนวนฟองไข่
มีการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิง Estradiol
หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย ช่องคลอดแห้ง เจ็บแสบช่องคลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการลดลงของฮอร์โมน AMH ซึ่งเป็นฮอร์โมนเช็คจำนวนฟองไข่ตั้งต้น ยิ่งอายุมากจำนวนไข่ก็จะลดลง
มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน FSH ซึ่ง FSH เป็นฮอร์โมนที่ทำนายเรื่องรังไข่เสื่อม ยิ่งมีค่าสูงเท่าไหร่แสดงว่ารังไข่เสื่อมลงเท่านั้น
ดังนั้นฮอร์โมนที่แม่ๆควรเช็คเพื่อตรวจสถาพของรังไข่มี 3 ฮอร์โมนด้วยกันค่ะ โดยเป็นการตรวจเลือดเพื่อทดสอบเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่ เพื่อใช้ประเมินว่าแม่ๆมีจำนวนไข่ตั้งต้นเท่าไหร่ เหมาะในการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่
และเป็นการดูสภาพของรังไข่โดยรวมเพื่อใช้ในการพยากรณ์โรคเพื่อแพทย์จะได้นำมาพิจารณาเพื่อใช้หาแนวทางในการรักษาภาวะมีบุตรยากให้เหมาะสมกับแต่ละกรณี หรือ ให้คำแนะนำในการวางแผนตั้งครรภ์ตามธรรมชาติค่ะ
1.ฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone)
เป็นฮอร์โมนหนึ่งของผู้หญิง ที่มีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็กๆ (antral follicles) ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดจำนวนฟองไข่ในรังไข่ได้
ถ้าค่าเกิน 1 ถือว่าดี
ถ้าค่าต่ำกว่า 1 ng/ml แสดงว่า มีการลดลงของการทำงานของรังไข่
ค่าต่ำ < 0.2–0.7 ng/mL แสดงว่า รังไข่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ได้น้อยลง
ถ้าค่า AMH สูง > 6.7 ng/mL จะสัมพันธ์กับการมีภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) แพทย์ก็จะพิจารณาเรื่องการฉีดยากระตุ้นไข่เป็นพิเศษในเคสแบบนี้ค่ะ
2.ฮอร์โมน FSH ( Follicle Stimulating Hormone ) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และไข่สุก อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน
ถ้าระดับฮอร์โมน FHS สูง แสดงว่ารังไข่ทำงานได้ไม่ดี ทำงานหนัก เข้าข่ายรังไข่เสื่อม
ถ้าระดับ FSH <10 mIU/mL ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือนแสดงว่ารังไข่ทำงานได้ดี
3.ฮอร์โมน Estradiol ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่ หรือ ที่เรารู้จักในชื่อของฮอร์โมนเอสโตรเจน
ค่าที่น้อยกว่า 80 pg/mL ในช่วงวันที่ 3 ของประจำเดือนแสดงว่ารังไข่ทำงานได้ดี
ดังนั้นแม่ๆที่วางแผนตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์หากพบอาการดังกล่าวเพื่อตรวจเช็คการทำงานของรังไข่เพื่อจะได้รักษาและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ต่อไป
และอย่าลืมว่าเราสามารถบำรุงรังไข่ บำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพได้ด้วยหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ครูก้อยรวบรวมวิธีการ คัมภีร์อาหารบำรุงไข่มาให้แม่ๆ แล้ว ศึกษาและทำตามกันนะคะ ครูก้อยขอให้แม่ๆ สมหวัง มีลูกน้อยมาเติมเต็มความอบอุ่นในเร็ววันค่ะ